Page 31 - Culture1-2018
P. 31

ลูกปัดที่ใช้ในการร้อยเครื่องลูกปัด คือ ลูกปัดกาหล�าหรือลูกปัด
                                                                แก้ว ที่ตกบนพื้นจะแตกหักได้ง่ายและมีการผุกร่อน ดังนั้นอายุ

                                                                การใช้งานจึงน้อยกว่าลูกปัดที่พบโดยทั่วไปในปัจจุบัน ในสมัย
                                                                รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ชุดโนรายังไม่เห็นโครงสร้างของลูกปัด
                                                                เต็มตัว ยังเว้นชิ้นส่วนไว้ให้เห็นโครงสร้างของสรีระที่สง่างาม
                                                                ส่วนสีที่ใช้ก็มักจะใช้ตามวัตถุดิบที่มีอยู่ ด�า ขาว น�้าตาลบ้าง

                                                                     ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๐ เมื่อมีการท�าลูกปัดเม็ด
                                                                โตขึ้น มีสีสันเยอะขึ้น และราคาเริ่มถูกลง สามารถหาซื้อลูกปัด
                                                                ได้ง่ายขึ้น หาได้จากแถวอ�าเภอหาดใหญ่ การท�าเครื่องลูกปัดจึง
                                                                เพิ่มชิ้นส่วนได้มากขึ้น เครื่องลูกปัดโนราในยุคนั้นจะเป็นแบบ
                                                                เครื่องต้น คือ ร้อยลูกปัดให้เป็นตัวเสื้อติดกันไม่แยกชิ้น มีการใช้
                                                                ลูกปัด ๒ แบบ คือ ๑. ลูกปัดสี่ด้าน ซึ่งเป็นลูกปัดขนาดเม็ดโต

                                                                ๒. ลูกปัดแมงโลม เป็นลูกปัดเม็ดใสๆ เล็กๆ เมื่อสวมใส่จะรู้สึก
                                                                บางเบา ซึ่งหาชมได้ยากแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีลูกปัด
                                                                ลักษณะดังกล่าวแล้ว วัตถุดิบบางก็อย่างไม่สามารถหาได้ตาม
                                                                แบบของเก่าดั้งเดิม การท�าชุดโนราจึงต้องเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
                                                                แต่การร้อยลูกปัดส่วนใหญ่ ยังใช้วิธีการแบบดั้งเดิมคือ มีวิธีการ

                                                                ร้อยอยู่ ๓ แบบคือ
                                                                     ๑. ร้อยแบบร้อยช่อ เป็นการร้อยคล้ายกับลวดลายของ
                                                                ตาข่ายหรือแห โดยใช้ลูกปัดข้างละสองลูกมาผูกเชื่อมต่อกันด้วย
                                                                ลูกปัดหนึ่งลูก เรียกว่า ๑ ช่อ
                                                                     ๒. ร้อยแบบห้า-สาม เป็นวิธีการโดยใช้ลูกปัดห้าเม็ดและ
                                                                ลูกปัดสามเม็ดมาร้อยในเชือกคู่เดียวกันเป็นลายดอก

                                                                     ๓. ร้อยแบบสาม-สาม เป็นวิธีการร้อยโดยใช้ลูกปัดครั้งละ
                                                                สามเม็ด จ�านวนสองครั้งมาผูกร้อยให้กลายเป็นลายดอกเดียวกัน
                                                          ๔
                                                                โดยใช้เชือกเพียงสองเส้น วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมน�ามาร้อยเครื่อง
                                                                ลูกปัดมากที่สุด เพราะจะมีความแน่นและเห็นลวดลายได้ชัดเจน

           ๑. การแสดงโนราในอดีต ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๖           เช่น ลายลูกแก้ว หรือลายข้าวหลามตัด ลายก้างปลา ลายบัวคว�่า
           ๒. โนราอ�าเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช            ลายบัวหงาย มีการพัฒนาโดยร้อยแบบใช้สีตัดกัน สีที่ใช้ในยุคแรก
             ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๖                              เน้นสีแดงตัดสีเหลือง สีเขียวตัดสีส้ม ขาวตัดน�้าเงิน แต่ไม่นิยม
           ๓. ภาพการแต่งกายโนราของหมื่นระบ�าบันเทิงชาตรี (คนซ้าย)    สีด�า ต่อมามีการร้อยแบบไล่น�้าหนักสีจากสีอ่อนไปหาสีเข้ม
             หรือโนราคล้ายพรหมเมศ แต่มักเรียกกันว่าโนราคล้ายขี้หนอน    มีการใช้สีด�า และมีการผสมผสานการติดเพชรหรือคริสตัล
             (ค�าว่าขี้หนอน เป็นภาษาถิ่นของภาคใต้หมายถึงกินนร)
             ซึ่งเป็นโนราคนแรก และคนเดียวที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์   แบบชุดลิเกในบางจุด เพื่อเพิ่มประกายยามต้องแสงไฟ
             จากการแสดงโนราในรัชกาลที่ ๕                             โดยปกติแล้วโนราทุกคนจะร้อยชุดเองได้ เพราะว่าจะต้อง
           ๔. ภาพการแต่งกายโนราในยุคปัจจุบันโดยอาจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์  สวมใส่เอง ชุดโนรา ๑ ชุดใช้ลูกปัดประมาณหนึ่งหมื่นเม็ด ราคา
                                                                ชุดไม่แน่นอน โดยมากมีราคาตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป ขึ้นอยู่
                                                                กับขนาด สี และลวดลาย

                                                                                                มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑  29
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36