Page 60 - Culture3-2017
P. 60
ต้นไม้โดยเฉพาะไม้ใหญ่ให้คุณประโยชน์มากมาย นอกจาก
ที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าต้นไม้ช่วยในการผลิตออกซิเจน ดูดซับ
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด เป็น
แหล่งอาหารส�าหรับการบริโภคแล้ว หากจะประมวลคุณประโยชน์
ของต้นไม้ในด้านอื่นก็จะพบว่าต้นไม้มีคุณประโยชน์ด้านสุนทรียภาพ
ในการสร้างความสุขให้แก่ผู้คน โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในเมือง
กรอบโครงร่างของต้นไม้ในลักษณะต่าง ๆ ช่วยให้ผู้พบเห็นเกิด
ความรู้สึกผ่อนคลาย มีความชุ่มชื่นใจ รวมทั้งในบางกรณีต้นไม้ยัง
ช่วยปิดบังทัศนียภาพที่ไม่ดีได้ด้วย
คุณประโยชน์ในเชิงสังคม จิตวิทยา และนันทนาการ การอยู่
ต้นวิสทีเรียชมพู อายุ ๑๔๔ ปี ปกคลุมพื้นที่กว่า ๒,๐๐๐ ตารางเมตร ในสถานที่ที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้จะช่วยลดความตึงเครียด
อยู่ที่สวนดอกไม้อชิคากะ ประเทศญี่ปุ่น ให้ประโยชน์ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ การเป็นแหล่งอาหารและ
(http://petmaya.com/amazing-trees-around-the-world ภาพ)
การขยายพันธุ์ของนกชนิดต่าง ๆ ท�าให้เกิดการรวมกลุ่มในการศึกษา
ดูนก ล้วนแล้วแต่เป็นความบันเทิงที่ธรรมชาติได้จัดสรรไว้ให้
การช่วยลดมลพิษในอากาศ มลพิษที่เกิดจากการปล่อยไอเสีย
ของรถยนต์ ไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนเป็นภัย
ต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชน การปลูกป่าในเมืองจึงเป็นค�าตอบ
ที่ดีในการช่วยปรับปรุงคุณภาพของอากาศในเมือง เพราะต้นไม้ใหญ่
จะช่วยดูดซับมลพิษในอากาศ ดักจับอนุภาคที่เป็นพิษ และปลดปล่อย
ออกซิเจน ซึ่งช่วยท�าให้บรรยากาศดีขึ้นได้มาก
ด้วยเหตุนี้ในหลาย ๆ ประเทศจึงให้ความส�าคัญในการสงวน
รักษาต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ใหญ่ในเมือง ซึ่งประเทศไทย
นั้นการรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จ-
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังพระราชหัตถเลขาพระราชทาน
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ พระองค์ทรงโปรดและสนพระราชหฤทัย
เกี่ยวกับต้นไม้และการปลูกต้นไม้เป็นอย่างยิ่ง ทรงรู้จักต้นไม้เป็น
อย่างดีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ดอก และไม้ล้มลุก เท่าที่นับจาก
พระราชหัตถเลขามีมากกว่า ๕๐ ชนิด โดยจะทรงก�าหนดสถานที่
ปลูกและบางครั้งทรงแนะน�าวิธีปลูกให้ด้วย นอกจากโปรดต้นไม้
ในด้านความงามแล้ว ยังทรงพระปรีชาในด้านการใช้สอย เช่น ที่ใด
ควรปลูกหรือไม่ควรปลูกอย่างไร*
ต้นยูคาลิปตัสสีรุ้ง ประกอบด้วย สีส้ม ม่วง ฟ้า แดง และสีน�้าตาล
(http://petmaya.com/amazing-trees-around-the-world ภาพ)
*ศาสตราจารย์ ดร.เดชา บุญค�้า, “พระพุทธเจ้าหลวงกับต้นไม้และงานภูมิทัศน์ : พระราชหัตถเลขาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ระหว่าง
๑
พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๕๓”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๓๘
58