Page 100 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐
P. 100

อุทุมพร สุขแพทย์

          ผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ ๘ สามัคคี ต?าบลนิคมสร้างตนเอง อ?าเภอเมือง
          จังหวัดลพบุรี
               หนึ่งปีที่ท?าหลุมขนมครกสู่หัวคันนาทองค?า บทพิสูจน์
          ของการจัดการน?้าที่แก้ปัญหาได้จริง
               ผู้ใหญ่อ้อยหันหลังให้ชีวิตในเมืองหลวงกลับบ้าน เมื่อได้
          พบกับความสูญเสียอย่างต่อเนื่องท?าให้คิดได้ว่าต่อให้มีเงินมากมาย
          ขนาดไหนก็ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ จากนั้นจึงมุ่งมั่นที่จะสร้าง
          คุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ผู้ใหญ่อ้อยได้ปรับพื้นที่ ๑๙ ไร่ ขุดหนองน?้า
          ขนาดใหญ่เพื่อเป็นหลุมขนมครก ปั้นหัวคันนาเป็นรูปเลข ๙ ซึ่ง

          แปรเปลี่ยนเป็นหัวคันนาทองค?าให้ผลผลิตมากมายเหลือกินภายใน
          เวลาเพียง ๑ ปี หนองน?้าของผู้ใหญ่อ้อยได้ช่วยรองรับน?้าจากชุมชน
          ในฤดูน?้าหลากและเป็นแหล่งน?้าส?ารองในฤดูแล้ง พื้นที่แห่งนี้ได้พิสูจน์
          ให้เห็นว่าการบริหารจัดการน?้าแบบนี้แก้ปัญหาได้จริง
               ปัจจุบันผู้ใหญ่อ้อยเป็นผู้น?าเครือข่ายลพบุรี เป็นก?าลังหลัก
          ของการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาต่อไป



          ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านหินโง่น

          หมู่ ๕ ต?าบลศิลา อ?าเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
               เมื่อเขาหัวโล้นก?าลังจะเปลี่ยนเป็นเขาหัวจุก
               บ้านหินโง่นมีพื้นที่เป็นภูเขาหัวโล้นเพราะการถางป่าเพื่อ
          ปลูกข้าวโพด เมื่อได้ท?าตามแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญา
          ท้องถิ่น “เปลี่ยนเขาหัวโล้นมาเป็นเขาหัวจุก” จนเป็นป่าที่อุดม

          สมบูรณ์มีพืชพรรณที่หลากหลาย ทั้งไม้ผลและพืชผักอันเป็นแหล่ง
          อาหารและให้ความร่มเย็น เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแล้วรอด
          โดยแกนน?าคนส?าคัญคือ ครูศิลา ม่วงงาม แห่งโรงเรียนบ้านหินโง่น
          ผู้ได้ท?าตามแนวพระราชด?าริมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนประสบ
          ความส?าเร็จ สามารถเป็นต้นแบบของชุมชนได้ เมื่อโครงการฯ ไปถึง
          จึงเกิดความร่วมมือในการขยายผลไปยังพื้นที่โรงเรียนและชุมชน
          ใกล้เคียง เกิดการท?าเกษตรผสมผสานตามแนวขั้นบันได ปลูก
          หญ้าแฝก สร้างบ่อปลา และเล้าไก่ รวมทั้งการน?าพลังงานทดแทน
          จากโซลาร์เซลล์ไปใช้ในการดึงน?้าขึ้นสู่ที่สูง ปัจจุบันที่นี่เป็นพื้นที่
          เรียนรู้ของชุมชน และเป็นต้นแบบของการเก็บน?้าไว้บนที่สูง โดยการ
          ขุดบ่อพักน?้าและท?าการเพาะปลูกแบบต่างระดับ





          98
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105