Page 86 - Culture1-2016
P. 86
จนกระทั่งมาคลี่คลายไปอีกแบบหนึ่ง ก็คือไปจาก
ม้าก้านกล้วยเลยคือ ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก ผมอาจใช้คําาว่า
รักบ่อยนะ แต่คําาว่ารักของผมก็ไม่ใช่รักๆ ใคร่ๆ แบบหนุ่ม
สาวนะอย่าง“เห็นรักดว้ยใจเหน็ใจดว้ยรัก”หรือ“ทีใ่ด
มีรัก ท่ีน่ันมีรัก” งานเล่มนี้จะออกไปในเชิงปรัชญา สังคม
วัฒนธรรม ชีวิต แม้กระทั่งพูดถึงความรักในแบบปัจเจก ถ้า
ไปดูจะมีงานเขียนหลายแบบ ผมแตะหรือสัมผัสได้แทบ
ทุกเรื่อง แทบทุกอารมณ์ มากที่สุดจะเป็นอารมณ์ซึ้ง คือ
ตัวเองน่าจะเป็นพวกโศกซึ้งน่ะ แต่ถามว่ามีอารมณ์ตลกไหม
ผมเขียนพวกกลอนตลกๆ เสียดสีสังคมอยู่เหมือนกัน
ผมจรรอนแรมจากลุ่มแม่น้ําามูล เป็นอีกเล่มที่รวม
จากคอลัมน์ประจําาในกรุงเทพธุรกิจ เขียนถึงเพลง บทกวี
ศิลปะ ปรัชญา ที่ผมได้เดินทางและไปพบ เป็นการบันทึก
ทางวัฒนธรรม ทางสําานักพิมพ์เนชั่นพิมพ์ให้ปี ๒๕๔๕
บรรณาธิการเอาไปอ่านแล้วบอกว่า โห...นี่เป็นงานเชิง
มานุษยวิทยา ผมไม่เข้าใจศัพท์นี้หรอก เพียงแค่ผมเดินทาง
ไปทั่วประเทศ เจอคําาพูด เจอคําาแปลกๆ ไปเจอชาวบ้านเขา
ทําาอะไร ผมบันทึกไว้
อีกเล่มคือ ณ ที่ซึ่งแม่โพสพเคยสถิต เล่มนี้ได้รางวัล
ชมเชยของเซเว่นบุ๊คอวอร์ดเมื่อหลายปีก่อน เล่มนี้มีคนชอบ
เพราะแทบจะเป็นม้าก้านกล้วยภาคสอง
ในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ถ้าไปอ่านจะ
พบว่าผมพยายามสื่อสารถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น ชื่อเรื่อง
“ไม่มีบ้านให้กลับ” ที่บอกว่า กลับบ้านเถอะ แต่อย่าลืมว่า
บางคนไม่มีบ้านให้กลับ เรายังโชคดีนะ มีบ้านให้กลับ แต่
คนจําานวนมากไม่มี ผมอธิบายหลายๆ อย่างไว้ แม้กระทั่ง
ในคําาประกาศในเอกสารของศิลปินแห่งชาติที่ส่งมาให้ผมดู
มีการเอ่ยถึง ม้าก้านกล้วย กับ ณ ที่ซึ่งแม่โพสพเคยสถิต
เป็นหลัก เพราะว่าในนี้เป็นงานที่มีประเด็นทางสังคม อาจ
จะเป็นตัวส่งให้การนําาเสนอชื่อมีน้ําาหนักขึ้น ซึ่งผมเองไม่รู้ว่า
ใครเป็นผู้นําาเสนอ
84