Page 48 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐
P. 48

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์

          อาจารย์ประจ?าภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์
          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          นักดนตรีวง อ.ส. วันศุกร์ วงดนตรีในพระบาทสมเด็จ-
          พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ ๙


               ด้วยเหตุที่คุณพ่อผม (ศาสตราจารย์แมนรัตน์ ศรีกรานนท์)
          เป็นนักดนตรีวง อ.ส. วันศุกร์ มากว่า ๖๐ ปี พ่อร่วมบรรเลงดนตรี
          กับในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาตลอด ตอนเด็ก ๆ ผมมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ
          พระองค์ท่านจนกระทั่งอายุ ๑๐ ขวบ ผมได้ฟังพระองค์ท่านทรง

          แซกโซโฟน ท?าให้เกิดความประทับใจ จึงเริ่มฝึกเล่นแซกโซโฟน
               แล้วคุณพ่อก็พาผมเข้าไปถวายตัวเป็นสมาชิกวง อ.ส. วันศุกร์
          ตั้งแต่ตอนอายุ ๑๓-๑๔ ปีเท่านั้น ต่อมาพระองค์ท่านได้พระราชทาน
          เครื่องดนตรีหลายชิ้นเพื่อให้ฝึกฝนเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นอัลโต้
          แซกโซโฟน เทเนอร์ แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต
               พระองค์ท่านทรงรู้ว่าผมเป็นคนขี้ลืม ผมลืมง่าย ก็จะรับสั่งให้
          ผมจดทุกอย่างให้ละเอียด “เห็นอะไร รู้อะไร จดให้หมด อีกหน่อย
          ก็ไม่เหลือใครแล้ว จะได้เก็บมาเล่าให้ลูกหลานฟัง” ผมบอกเลย
          ว่ารู้สึกภูมิใจมากที่ได้ท?าหน้าที่นี้ การได้มีโอกาสถวายงานรับใช้
                                                               ๑







                                                              เบื้องพระยุคลบาทเป็นความภูมิใจสูงสุดในชีวิตแล้ว ชีวิตผมทั้งชีวิต

                                                              ก็มีแต่พระองค์ท่าน ที่สุดแล้วรู้สึกว่าตัวเองโชคดี จะมีสักกี่คนที่ได้
                                                              กราบพระบาทในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทุกอาทิตย์ เป็นเวลา ๓๐ ปี
                                                                    อ.ส. วันศุกร์ คือสถานีวิทยุกระจายเสียงอัมพรสถานภายใน
                                                              พระราชวังดุสิต มีการจัดตั้ง “วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์” บรรเลงเพลง
                                                              ออกอากาศทางสถานีทุกเย็นวันศุกร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-
                                                              มหาภูมิพลอดุลยเดชทรงจัดรายการเพลงด้วยพระองค์เอง และ
                                                              ทรงร่วมบรรเลงดนตรี ทรงเปิดโอกาสให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามา
                                                              ขอเพลงได้ บางครั้งทรงรับโทรศัพท์ด้วยพระองค์เอง
                                                                    คราวเกิดเหตุการณ์มหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก นครศรี-
                                                              ธรรมราช ได้อาศัย “วงดนตรี อ.ส.” ประกาศเชิญชวนประชาชนให้
                                                              บริจาคทรัพย์และสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งกลายเป็นที่มา
                                                              ของการก่อตั้ง “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” ในพระบรมราชูปถัมภ์



          46
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53