Page 13 - E-Book Culture 02_20182
P. 13

ส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบของต้นไม้ใหญ่ ตระหนักถึงคุณค่า และมีส่วนร่วมในการช่วย
                                              เหลือในการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นให้ด�ารงอยู่เป็นมิ่งขวัญของชุมชนต่างๆ และ
                                              ของประเทศสืบต่อไป

                                                   ดังจะขอยกตัวอย่าง รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี ต่างๆ ในประเทศไทย
                                              บางส่วน ดังนี้
                                                   กลุ่มต้นยางนา พันธุ์ไม้ขนาดสูงใหญ่ล�าต้นตรงสูงชะลูด เรือนยอดเป็นพุ่ม
                                              ทรงกลมสวยงาม ได้แก่
                                                   กลุ่มต้นยางนารักษ์สิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่ บนเส้นทางถนนสายล�าพูน–เชียงใหม่

                                              สายเก่า จ�านวนมากถึง ๘๘๖ ต้น ปลูกขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยนโยบาย
                                              ของข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ก�าหนด
                                              ให้ต้นไหนใกล้บ้านเรือนผู้ใด ให้ประชาชนครอบครัวนั้นเป็นผู้ดูแล
                                                   ต้นยางนาร่มมงคล จ.เชียงใหม่ เป็นต้นยางนาใหญ่ที่โดดเด่นเป็นสง่า เคียงข้าง
                                              เสาอินทขิล หลักเมืองเชียงใหม่ ภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จากประวัติวัดสันนิษฐาน
                                              ว่าต้นยางนี้ปลูกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ องค์ที่ ๑ ซึ่งย้ายเมืองจากเวียง

                                              ป่าซาง ล�าพูน มาตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เป็นการถาวร
                                                   พญายางนา จ.ลพบุรี ต้นยางนาต้นนี้วัดขนาดเส้นรอบวงได้ถึง ๒๐ เมตร ขนาด
                                              ๑๓ คนโอบ มีอายุมากกว่า ๕๐๐ ปี ยืนต้นอยู่ที่ วัดยาง ณ รังสี อ.เมือง สันนิษฐานว่า
                                              ต้นยางนี้มีมาตั้งแต่สมัยละโว้ ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา
                                                   ต้นมะขาม เหมือนจะเป็นต้นไม้พื้นเพธรรมดา แต่ถ้าไม่ถูกตัดต้น มะขามก็จะ

                                              เจริญเติบโตสูงใหญ่และอยู่ได้มากกว่า ๑๐๐ ปีเช่นเดียวกัน
                                                   มะขามยักษ์วัดแค จ.สุพรรณบุรี เป็นต้นมะขามที่มีกล่าวไว้ในนิทานพื้นบ้าน
                                              เรื่องขุนช้างขุนแผน ที่เชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยพระรามาธิบดี ที่ ๒
                                              ต้นกรุงศรีอยุธยา แต่ตอนที่กล่าวถึงในเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้น ต้นมะขามนี้ก็โตมาก
                                              อยู่แล้ว ในเรื่องขุนช้างขุนแผน พลายแก้วได้ใช้มะขามต้นนี้ฝึกเสกใบมะขามให้เป็น
                                              ต่อแตนเข้าท�าร้ายศัตรู จึงเชื่อกันว่ามะขามต้นนี้ น่าจะมีอายุถึงมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี

                                              เลยทีเดียว
                                                   มะขามคู่ยักษ์วัดแจ้ง กรุงเทพมหานคร มะขามคู่นี้คือมะขามที่ขึ้นเคียงข้าง
                                              สัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย คือ ยักษ์วัดแจ้ง หรือยักษ์คู่เฝ้าประตู
                                              พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ต้นมะขามคู่นี้มีอายุยืนยาวมาแล้วจากการดูภาพถ่าย

                                              ประเทศไทยเก่าๆ ไม่มากนักแต่คงมากกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป
                                                   ต้นสมพง ต้นไม้ที่มี พูพอน หรือโคนรากขนาดใหญ่แยกเป็นกลีบแบนยาวสูง
                                              ใหญ่หลายกลีบ ช่วยค�้ายันให้ล�าต้นสูงใหญ่น�้าหนักมากพุ่งตรงยาวเหยียดเสียดฟ้าขึ้น
                                              ไปได้ เป็นไม้ที่พบได้ทั่วประเทศในป่าโปร่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต่างๆ
                                                   สมพงผึ้งหลวง จ.กระบี่ เป็นต้นไม้ใหญ่ ณ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ที่ถูก
                                              เรียกว่าเป็นหลังคาของเมืองกระบี่ ภาษาถิ่นเรียกต้นไม้นี้อีกชื่อหนึ่งว่า ต้นมันช้าง ต้นนี้

                                              มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี อุทยานแห่งชาติพนมเบญจาส�ารวจและประกาศจัดตั้งในปี
                                              พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงนับเป็นช่วงเวลาค้นพบไม้ใหญ่ต้นนี้ด้วย

                                                                                               เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑  11
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18